วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note No.5


บันทึกอนุทิน
Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

เล่นเกมนักมายากลระดับโลก (เปรียบเสมือนว่ารู้สึกอย่างไรกับที่ต้องโกหกคนอื่น)

กิจกรรมนักออกแบบอาคาร


ไม้กับดินน้ำมัน (ให้แบ่งกลุ่มกันและแข่งกันว่ากลุ่มไหนสามารถออกแบบอาคารได้สูงกว่ากันภายในเวลาที่กำหนดให้)
อาจารย์แนะนำการสอนว่าต้องบอกเด็กว่าอะไรและถามเด็กว่าอะไร
ทุกกิจกรรมต้องแบ่งกลุ่มก่อนที่จะแจกอุปกรณ์ให้เด็กทำทุกครั้ง
การเล่นเพื่อสิ่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
 

  1. ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ห้ามปรึกษาห้ามคุยกันต่างคนต่างทำ

2. ให้พูดได้แค่คนเดียว


3.ให้ปรึกษาคุยกันได้




การเล่น
คือกระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลินเพลิน ผ่อนคลาย
ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น

Piaget กล่าวถึงพัฒนกาารเล่นของเด็กมี 3 ขั้นดังนี้

ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play) 
เช่น การหยิบจับ สำรวจ ซึ่งจะยตุลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play) อายุ 1ปีครึ่ง-2ปี การเล่นไม่มีขอบเขต เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เล่นคนเดียวต่างคนต่างเล่น
ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play) อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่าง ๆ ที่ไม่มีอยู่ที่นั่น ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดคือการเล่นบทบาทสมมติ

การเล่นในร่ม
  • การเล่นตามมุมประสบการณ์
  • การเล่นสรรค์สร้าง 

การเล่นสรรค์สร้าง

  • การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
  • ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
  • เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
  • สภาวะการเรียนรู้
  • พัฒนาการของการรู้คิด
  • กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน

กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
  • เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
  • การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงเวลา
  • การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
  • ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
  • ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
  • มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
  • มีการสรุปท้ายกิจกรรม
รูปแบบการสอนแบบ STEM
  • S = Science
  • T = Tecnology
  • E = Engineering
  • M = Mathematics 


  • กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ
ไห้ออกความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเรือให้เรือไม่จมในขณะที่ใส่ไข่ไปทั้งหมด 20 ฟอง
อุปกรณ์ในการทำเรือ




สรุป
 การทำกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เห็นถึงการมีส่วนร่อมของเพื่อนๆในการทำกิจกรรม มีสมาธิในการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญจะทำยังไงให้ไข่บรรทุกในเรทอได้ 20 ฟอง 



ความรู้ที่ได้รับ

  • ได้เทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆ
  • อุปกรณ์ต่างๆสามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนให้ความร่วมมือดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มีน้ำเสียงที่น่าฟังเหมาะสมกับการเรียนรู้
  • อาจารย์ใช้เทคนิคในการสอนที่หลากหลาย
  • อาจารย์มีความสุขไปกับนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น